Cute Pink Kaoani

วันจันทร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

แบบฝึกหัด

2. แก๊สชนิดหนึ่งมีความดันเริ่มต้นเท่ากับ 200 mmHg  แก๊สชนิดนี้จะมีความดันสุดท้ายเป็นเท่าใดถ้าทำให้แก๊สมีปริมาตรลดลงเป็นครึ่งหนึ่งของปริมาตรเดิมเมื่ออุณหภูมิคงที่
วิธีทำ                          P1   =   200  mmHg
                                 P2   =   ?     mmHg
                                 V1   =   V1 
                                 V2   =  
         จากสูตร           P1V1   =   P2V2
                        200 x V1   =   P2 x
                                  P2   =  

                                         =   400  mmHg

แบบฝึกหัด

1. แก๊สจำนวน 15 มีปริมาตร 10 ลิตร ที่ความดัน 150 mmHg เมื่ออุณหภูมิคงที่  ถ้าเปลี่ยนความดันเป็น 50 mmHg  แก๊สจะมีปริมาตรเท่าใด
วิธีทำ                          P1   =   150  mmHg
                                 P2   =   50   mmHg
                                 V1   =   10   ลิตร
                                 V2   =   ?
         จากสูตร           P1V1   =   P2V2
                        150 x 10   =   50 x V2
                                 V2   =  
                                       =   30   ลิตร

วันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

กฎของบอยล์ (Boyle's Law)

กฎของบอยล์ (Boyle's Law)
เมื่อทดลองโดยใช้การกดและดึงก้านกระบอกฉีดยา สามารถใช้ทฤษฎีจลน์ของแก๊สอธิบายได้ว่าเมื่อปริมาตรของแก๊สในกระบอกฉีดยาลดลง
ทำให้โมเลกุลของแก๊สอยู่ใกล้กันมากขึ้น จึงเกิดการชนกันเองและชนผนังภาชนะมากขึ้น เป็นผลให้ความดันของแก๊สในกระบอกฉีดยาเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับตอนเริ่มต้น ในทางตรงกันข้ามการเพิ่มปริมาตรของแก๊สในกระบอกฉีดยาทำให้โมเลกุลของแก๊สอยู่ห่างกัน การชนกันเองของโมเลกุลของแก๊สและการชนผนังภาชนะน้อยลง ความดันของแก๊สในกระบอกฉีดยาจึงลดลง


จากผลการทดลองพบว่า ผลคูณของความดันกับปริมาตร (PV) ของแก๊สในการทดลองแต่ละครั้งมีค่าค่อนข้างคงที่ และพบว่าขณะที่อุณหภูมิคงที่
ถ้าปริมาตรของแก๊สเพิ่มขึ้นจะทำให้ความดันของแก๊สลดลง และเมื่อปริมาตรของแก๊สลดลง ความดันของแก๊สจะเพิ่มขึ้น


กฎของบอยล์